Page 22 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 22
20 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
๑.๒ กระบวนการจัดทำารายงานเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุง
กฎหมาย
ในการดำาเนินงานตามอำานาจหน้าที่ข้างต้น ประกอบการจัดทำาข้อเสนอแนะนโยบายและ
ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คณะอนุกรรมการฯ
ได้จัดทำาเป็นรายงานผลการพิจารณาฯ โดยให้ความสำาคัญกับการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเหตุการณ์/
สถานการณ์ด้านสิทธิที่เกิดขึ้นหรือมีแนวโน้มจะเกิดขึ้น ข้อมูลทางวิชาการ หลักการด้านสิทธิมนุษยชน
ตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคีและที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เห็นว่า ประเทศไทยควรเข้าเป็นภาคี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับมาตรฐานการทำางานของ
รัฐบาล ตลอดจนหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ให้สอดคล้อง
กับข้อผูกพันตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี
การจัดทำาข้อเสนอแนะในรายงานผลการพิจารณานี้ มีขั้นตอน คือ
๑.๒.๑ การกำาหนดหัวข้อศึกษา มีที่มา คือ
(๑) ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ด้านบริหาร ด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
(๒) ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติผ่านทาง
คณะอนุกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนและกลั่นกรองรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิ
มนุษยชน
(๓) พัฒนาจากข้อเสนอ/ข้อค้นพบในรายงานการศึกษา/วิจัยที่คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือคณะอนุกรรมการฯ ศึกษา หรือมอบหมายให้สำานักงานคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติศึกษา
(๔) ข้อเสนอจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ หรือตามที่ฝ่ายเลขานุการ
คณะอนุกรรมการฯ ขอหารือประธาน/ที่ประชุม
๑.๒.๒ การจัดทำารายงานผลการพิจารณาฯ
(๑) ศึกษา วิเคราะห์จากเอกสาร กฎหมายและหลักการด้านสิทธิมนุษยชน
(๒) รับฟังความเห็นจากผู้ได้รับผลกระทบ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และมีอำานาจหน้าที่ โดยทำาเป็นหนังสือ หรือจัดประชุมกลุ่มย่อย
(๓) จัดทำาและปรับปรุงร่างรายงานตามความเห็นของที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ
๑.๒.๓ การเสนอขอความเห็นชอบ มี ๒ ขั้นตอน คือ
(๑) ขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ
(๒) ขอความเห็นชอบจากที่ประชุม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ด้านบริหาร หรือด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครอง