Page 18 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 18
16 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
ขั้นพื้นฐาน อันได้รับการรับรองและคุ้มครองจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ
สิทธิทางการเมือง แบ่งได้เป็น ๔ ประเภท คือ สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับการติดต่อ
สื่อสาร และสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับการอยู่หรือพักอาศัย แม้ประเทศไทยมีกฎหมาย
ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอยู่แล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มโดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ควบคุม
ข้อมูลเป็นเอกชน ประกอบกับสำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติร่วมกับสถาบันวิจัยและ
ให้คำาปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ผศ.ดร.นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธ์ คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ศึกษาวิจัยเรื่องปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและ
คุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว จึงเห็นควรจัดทำาเป็นข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการ
ปรับปรุงกฎหมายและกฎต่อไป
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาและมีความเห็นว่า สำานักนายก-
รัฐมนตรีซึ่งรับผิดชอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการฯ และร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคลฯ ควรบริหารจัดการให้มีมาตรการเพื่อประกันว่าเจ้าหน้าที่จะมีความเข้าใจและปฏิบัติ
หน้าที่เป็นหน่วยบังคับใช้กฎหมายข้างต้นตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายที่แตกต่างกัน ควรผลักดัน
การตราพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ โดยกำาหนดเป็นหลักการว่า วิธีคุ้มครองสิทธิ
ในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลในกฎหมายต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กำาหนด หรือ
ไม่ต่ำากว่ามาตรฐานที่กำาหนดในร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ และระหว่างยังไม่มีกฎหมายนี้ควรกำาหนด
แนวปฏิบัติหรือคู่มือคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไปพลางก่อน มีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ในกิจการสื่อมวลชน และบุคคลที่ควรได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษในกิจการดังกล่าว บทบัญญัติใน
ร่างพระราชบัญญัติฯ ควรกำาหนดขั้นตอนให้สามารถปฏิบัติได้จริง ชัดเจน ไม่ยุ่งยาก ป้องกันการ
ฝ่าฝืนได้ ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายโดยไม่จำาเป็นแก่ผู้ควบคุมข้อมูลและเจ้าของข้อมูลซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิ
มีหรือใช้มาตรการเพื่อประกันว่าสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์
จะเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย เก็บรักษา และแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการ
สาธารณสุขที่สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและมาตรฐานวิชาชีพ
โดยคำานึงถึงสิทธิของผู้ป่วยและประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยในการรักษาพยาบาล
ในเชิงกฎหมาย มีความเห็นว่า ควรทบทวนร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล
ส่วนบุคคลฯ ในส่วนข้อยกเว้น เช่น มาตรา ๕ วรรคท้าย เนื่องจากเป็นการใช้กฎหมายที่มีสถานะ
กฎหมายลำาดับรองมายกเว้นกฎหมายลำาดับสูงกว่า มาตรา ๑๖ วรรคสาม เนื่องจากเปิดโอกาสให้มี
การทำาสัญญาสำาเร็จรูป ฯลฯ ทบทวนมาตรา ๔๐ วรรคแรก โดยให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเชิงธุรกิจ
หรือการพาณิชย์แจ้งหรือขึ้นทะเบียน หรือได้รับอนุญาตเมื่อก่อตั้งกิจการ ทบทวนมาตรา ๗
องค์ประกอบของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยประธานคณะกรรมการไม่จำาเป็น
ต้องเป็นรัฐมนตรี ซึ่งอาจทำาให้ล่าช้า และคำานึงสัดส่วนหญิงและชาย และมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง