Page 17 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 17

15
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาและมีความเห็นว่า หน่วยงาน

                     ของรัฐต่างๆ ที่มีอำานาจหน้าที่ควรร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ วางหลักเกณฑ์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
                     ในการช่วยเหลือเยียวยาทางการเงินและอื่นใดแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำาของรัฐ

                     เจ้าหน้าที่ของรัฐเนื่องจากข้อบกพร่องของกระบวนการยุติธรรม จากการใช้นโยบาย/การบริหาร
                     ของรัฐ หรือการกระทำาใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชน  รวมถึงการควบคุมเหตุการณ์

                     เนื่องจากการแสดงออกทางการเมืองของประชาชนและกลุ่มชนแล้วทำาให้มีผู้ได้รับผลกระทบ  ทั้งนี้
                     เพื่อลดการใช้ดุลพินิจและการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ  พัฒนาและจัดสรร

                     ทรัพยากรอย่างเพียงพอในการบริหารงานกระบวนการยุติธรรมเพื่อประกันว่า ผู้ถูกลงโทษเป็น
                     ผู้กระทำาผิดกฎหมายอย่างแท้จริง

                                นอกจากนี้ มีความเห็นว่า ควรแก้ไขพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และ

                     ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำาเลยในคดีอาญาฯ โดยขยายอายุความการใช้สิทธิยื่นคำาขอเป็น ๑๐ ปี
                     มีขั้นตอนการแจ้งสิทธิเรื่องนี้แก่ผู้เสียหายและจำาเลยในคดีอาญาที่ได้รับความเสียหายจากข้อบกพร่อง
                     ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (มาตรา ๒๒) เพิ่มฐานความผิดท้ายพระราชบัญญัติฯ ให้ครอบคลุม

                     ความผิดฐานชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ความตาย  ความผิดเกี่ยวกับ

                     การค้ามนุษย์์  เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย โดยใช้เงื่อนไขเพียง “เมื่อศาล
                     พิพากษายกฟ้อง” (มาตรา ๒๐ (๓)) ให้เจ้าหน้าที่ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพทำาหน้าที่พิจารณา
                     สั่งจ่ายค่าตอบแทนและค่าทดแทน และให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำานาจพิจารณาคำาร้องขอ

                     อุทธรณ์คำาสั่งเจ้าหน้าที่ โดยถือว่าคำาสั่งของคณะกรรมการฯ เป็นที่สุด (มาตรา ๘ และ ๒๕)

                                สำาหรับความเห็นของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐที่มีอำานาจหน้าที่ในเรื่องนี้  สำานัก
                     เลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือลงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ แจ้งว่า รองนายกรัฐมนตรี

                     (นายวิษณุ  เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงยุติธรรม
                     (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) พิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม  กระทรวงการพัฒนาสังคมและ

                     ความมั่นคงของมนุษย์  กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำานักงาน
                     ตำารวจแห่งชาติ สำานักงานอัยการสูงสุด และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง จัดทำารายงานผลการพิจารณา

                     หรือผลการดำาเนินงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม  แล้วแจ้งผลการพิจารณาหรือผลการ
                     ดำาเนินการเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง เมื่อ

                     คณะรัฐมนตรีพิจารณาและมีมติแล้วสำานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้แจ้งผลการพิจารณาของ
                     คณะรัฐมนตรีต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบ รายละเอียดปรากฏในผลงานลำาดับที่ ๕




                           ผลงานลำาดับที่ ๖
                           เรื่อง  ก�รส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

                                สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวรวมถึงสิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสิทธิมนุษยชน
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22