Page 16 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 16
14 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
หน่วยงานที่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะฯ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เช่น สำานักข่าวกรอง
แห่งชาติ เห็นว่า การบังคับใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โปร่งใส
สำานักข่าวกรองแห่งชาติและสำานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเห็นพ้องกันว่า การบังคับใช้กฎหมาย
ดังกล่าวควรมีความสมดุลระหว่างการรักษาความมั่นคงของรัฐและการเคารพสิทธิและเสรีภาพ
ของประชาชน กองอำานวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) รับว่า จะจัดทำาหลักเกณฑ์
การเยียวยาความเสียหายแห่งผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคง
ภายในราชอาณาจักร ฯ สำานักงานอัยการสูงสุดเห็นว่า ควรแก้ไขพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคง
ภายในราชอาณาจักร ฯ โดยให้พนักงานอัยการสามารถนำาผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำาผิดตามกฎหมายนี้
เข้าสู่กระบวนการอบรมได้
อย่างไรก็ตาม หลายหน่วยงานได้ให้ข้อสังเกตต่อข้อเสนอแนะฯ ดังกล่าว เช่น กระทรวง
กลาโหมเห็นว่า ไม่สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ ในขณะนี้ สำานักข่าวกรอง
แห่งชาติมีข้อสังเกตว่า ควรคงอำานาจประกาศใช้กฎอัยการศึกของผู้บังคับบัญชาการทหารที่มีกำาลัง
ในใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน และอำานาจของนายกรัฐมนตรีในการขยายเวลาประกาศใช้
พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ กอ.รมน. เห็นว่า ศาลที่มีอำานาจพิจารณา
ข้อพิพาทเนื่องจากการใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง ซึ่งปัจจุบันให้เป็นอำานาจของศาลยุติธรรม
นั้นดีอยู่แล้ว และสำานักงานศาลยุติธรรมแจ้งว่ากระบวนการเข้ารับการอบรมตามพระราชบัญญัติ
การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฯ มาตรา ๒๑ ในขั้นตอนที่เกี่ยวกับศาลยุติธรรมมีความ
โปร่งใส ชัดเจน คำานึงถึงความสมัครใจของผู้ต้องหา โดยศาลรับฟังความจากผู้ต้องหาก่อนออกคำาสั่ง
เสมอ จึงไม่ต้องมีคณะบุคคลตามข้อเสนอของ กสม. รายละเอียดอยู่ในผลงานลำาดับที่ ๔
ผลงานลำาดับที่ ๕
เรื่อง สิทธิในกระบวนก�รยุติธรรม กรณีเยียวย�คว�มเสียห�ยแก่ผู้เสียห�ยและจำ�เลยในคดีอ�ญ�
โดยหลักเมื่อบุคคลได้รับความเสียหายจากการกระทำาของรัฐ หน่วยงานของรัฐ และ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ความเสียหายเนื่องจากข้อบกพร่องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การใช้
นโยบาย การบริหาร หรือการกระทำาอื่นใด ผู้ได้รับความเสียหายควรได้รับการเยียวยาโดยกำาหนดเป็น
กฎหมายและใช้กระบวนการทางยุติธรรม ในเรื่องนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับ
เรื่องร้องเรียนว่า บุตรชายของผู้ร้องถูกทำาร้ายได้รับบาดเจ็บสาหัสและทุพพลภาพ ต่อมา ศาลอาญา
พิพากษาลงโทษจำาคุกผู้ทำาร้ายเป็นเวลา ๕ ปี ปรับ ๕๐ บาท ศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องเนื่องจากคดี
ขาดอายุความ อีกทั้ง สำานักงานยุติธรรมจังหวัดก็ยกคำาขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญาตาม
พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำาเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔
เนื่องจากผู้เสียหายยื่นคำาขอเกิน ๑ ปี