Page 13 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 13

11
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                     อนุสัญญาทั้งสองฉบับเกี่ยวข้องกัน จึงได้ศึกษาแนวทางการอนุวัติกฎหมายภายในเพื่อรองรับการ

                     ดำาเนินการตามอนุสัญญาดังกล่าว และกลไกการดำาเนินงานที่สอดคล้องกับการปฏิบัติตามพันธกรณี
                     ข้างต้น

                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาและมีความเห็นในเรื่องนี้ว่า ควร
                     กำาหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการเสนอร่างกฎหมายภายในให้สอดคล้องตามอนุสัญญาต่อต้าน

                     การทรมานฯ มีแผนงานที่ชัดเจนในการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาฉบับนี้  ทบทวน

                     กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงและการบังคับใช้เนื่องจากเป็นกฎหมายที่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้
                     อำานาจเกินกว่าเหตุ โดยเฉพาะไม่ใช้กฎหมายเหล่านี้ในการสอบสวน คุมขังที่อาจกระทบต่อสิทธิของ
                     พยาน ผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหา สอดแทรกเรื่องสิทธิมนุษยชน และการป้องกันและคุ้มครองบุคคลจาก

                     การถูกกระทำาทรมานในหลักสูตรวิชานิติศาสตร์และหลักสูตรฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐที่บังคับใช้

                     กฎหมายด้านกระบวนการยุติธรรม รวมถึงแพทย์และทหาร  สร้างความเข้าใจแก่หน่วยงานและ
                     เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมและที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมรองรับการตรวจเยี่ยมของกลไกการ
                     ป้องกันระดับชาติและคณะอนุกรรมการว่าด้วยการป้องกันการทรมานของสหประชาชาติ ตามพิธีสาร

                     เลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ  พิจารณาหน่วยงานที่จะทำาหน้าที่เป็นกลไกการป้องกัน

                     ระดับชาติ  ปรับปรุงกฎหมายภายในเพื่อให้ประเทศไทยสามารถให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่าง
                     ประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหายได้โดยเร็ว  จัดเตรียมบุคลากรและ
                     งบประมาณสำาหรับสำานักงานอัยการสูงสุดในการทำาหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลอำานาจสืบสวนสอบสวน

                     ของพนักงานสอบสวน เพื่อคุ้มครองบุคคลที่ถูกกระทำาทรมานหรือที่ถูกบังคับให้สูญหาย

                                ในเชิงกฎหมาย  คณะกรรมการฯ เห็นควรเสนอกฎหมายเฉพาะหรือแก้ไขกฎหมาย
                     ที่มีอยู่ให้สอดคล้องตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ เสนอกฎหมายเฉพาะที่สอดคล้องตามพิธีสาร

                     เลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ และกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลจากการ
                     สูญหายโดยถูกบังคับ  แก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองพยาน พ.ศ. ๒๕๔๖  มาตรา ๓ และ ๘ โดยให้

                     ครอบคลุมผู้ฟ้องร้อง พยาน ญาติของผู้ถูกบังคับให้สูญหาย ทนายความของบุคคลดังกล่าว ผู้มี
                     ส่วนร่วมในการสอบสวน แก้ไขพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่

                     จำาเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๓ และรายการท้ายพระราชบัญญัติฯ เพื่อประกันว่าผู้เสียหาย
                     เนื่องจากถูกบังคับให้สูญหายจะได้รับค่าตอบแทน ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมและเพียงพอ

                                เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๗  สำานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือแจ้งว่าได้

                     มอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาร่วมกับหน่วยงานอื่น แล้วทำาเป็นรายงานภาพรวมประกอบ
                     การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป  รวมทั้งได้แนบความเห็นของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งพบว่าหลาย

                     หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม สำานักงานอัยการสูงสุด สำานักงาน
                     ศาลยุติธรรม ฯลฯ เห็นด้วยในหลักการของรายงานฉบับนี้  นอกจากนี้ กระทรวงยุติธรรมแจ้งด้วยว่า

                     มีการดำาเนินการบางประการที่สอดคล้องกับข้อเสนอของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เช่น
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18