Page 44 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 44

33


                                                2) สิทธิที่จะให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการ

                      สอบปากค าตนในชั้นสอบสวน
                                                   การคุ้มครองสิทธิในประเด็นนี้ เกี่ยวพันกับสิทธิที่จะได้รับความ

                      ช่วยเหลือทางกฎหมายจากทนายความ โดยเฉพาะในส่วนนี้ด้วยการถูกสอบปากค าในฐานะผู้ต้องหา

                      ในชั้นการสอบสวน ซึ่งผู้ต้องหาย่อมตกอยู่ภายใต้การกดดัน และอาจท าให้ผู้นั้นให้การอย่างใดไป

                      โดยเข้าใจผิดหรือคลาดเคลื่อนอันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม และที่ผ่านมาพนักงานสอบสวนเอง
                      มักถูกตั้งค าถามว่าได้ใช้วิธีการการสอบสวนผู้ต้องหานั้น อย่างถูกต้อง หรือไม่ ดังนั้นการให้สิทธิแก่

                      ผู้ต้องหาที่จะให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากค าตนในชั้นสอบสวน จึงเป็น

                      ทั้งการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาควบคู่ไปกับการเป็นหลักประกันความถูกต้องในการด าเนินการ

                      ของพนักงานสอบสวนไปในตัวด้วย

                                                   มาตรการการได้การคุ้มครองที่จะให้ทนายความหรือ ผู้ที่
                      ไว้ใจเข้าฟังการสอบสวน ในต่างประเทศ

                                                   จากการศึกษาของ ชาติชัยเดชสุริยะ (2549) พบว่า “แม้ว่าหลักการ

                      ขององค์การสหประชาชาติเพื่อการคุ้มครองบุคคลทุกคนที่ถูกคุมขังหรือจ าคุก  (Body of Principles
                      for the Protection of All Persons under Any Form of Detention or Imprisonment 1988)

                      ข้อ 23 ระบุไว้สรุปความได้ว่า  “ผู้ที่ถูกคุมขังหรือจ าคุกที่ถูกสอบปากค านั้นหรือที่ปรึกษากฎหมาย

                      ของผู้นั้นมีสิทธิที่จะขอตรวจดูรายละเอียดในเอกสารที่บันทึกการสอบปากค านั้นด้วย  “ ซึ่งเป็นกรณี

                      การตรวจดูเอกสารหลังการสอบปากค าไปแล้วซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการให้ที่ปรึกษากฎหมายของ
                      ผู้นั้นอยู่ด้วยในระหว่างการสอบปากค าผู้นั้น” โดย

                                                   (1)  ประเทศอังกฤษ  มีกฏหมาย “ The  Police  and  Criminal

                      Evidence  Act  1984  (PACE)”  ,section  58  ก าหนดว่า  ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะปรึกษาหารือกับ

                      ที่ปรึกษากฎหมายเป็นการส่วนตัวในเวลาใด ๆ ก็ตามที่เขาร้องขอ  และเมื่อเขาได้ร้องขอเช่นนั้นแล้ว

                      เขาจึงจะต้องได้รับอนุญาตให้ได้ปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายนั้นโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็น
                      ไปได้นั้น(โดยมีข้อยกเว้นไว้ในบางกรณี) ซึ่งได้น าไปสู่การก าหนดหลักเกณฑ์ที่ต่อเนื่องออกมา

                      รองรับว่า  แม้ผู้ถูกจับกุมได้เคยปฏิเสธการใช้สิทธินี้โดยแจ้งว่าไม่ต้องการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษา

                      กฎหมายก็ตาม  ก็ยังสามารถเปลี่ยนใจใหม่โดยขอปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายในระหว่าง

                      เวลาที่ผู้ถูกจับได้ถูกสอบปากค าอยู่นั้นได้  อีกทั้งสามารถเรียกร้องให้ที่ปรึกษากฎหมายดังกล่าว
                      อยู่ด้วยในระหว่างเวลาที่ผู้ถูกจับให้การต่อเจ้าหน้าที่ต ารวจหรือพนักงานสอบสวนเพื่อการปรึกษาหารือ
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49