Page 43 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 43
32
ของเจ้าพนักงานซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาจ านวนมากอาจจะไม่ทันได้อ่านข้อความดังกล่าว
โดยละเอียด หรือไปเห็นข้อความนั้นภายหลังให้การไปเรียบร้อยแล้ว
มาตรการการแจ้งสิทธิตามกฎหมายไทย
ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งหากแม้มีมาตรการ
การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาอย่างไรก็ตาม แต่หากผู้ต้องหาไม่ทราบว่าตนมีสิทธิเช่นนั้นก็อาจไม่ได้ใช้
สิทธินั้น กฎหมายจึงก าหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่จะต้องแจ้งสิทธินั้นให้บุคคลดังกล่าวทราบ
ซึ่งตามกฎหมายได้แก่กรณีดังนี้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1 บัญญัติว่า
“ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขังมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่ง
ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก และ
ให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย
(1) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
(2) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากค าตน
ได้ในชั้นสอบสวน
(3) ได้รับการเยี่ยม หรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร
(4) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือต ารวจซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับหรือ
ผู้ต้องหามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่ง”
ประเด็นส าคัญคือเรื่องสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้ง
ให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุม
ในโอกาสแรกกับเรื่องสิทธิในการให้ทนายความหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจเข้าฟัง
การสอบปากค าผู้นั้นในชั้นสอบสวนได้
การที่กฎหมายก าหนดให้เจ้าพนักงานจะต้องแจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหา
ทราบดังกล่าวมุ่งหมายจะให้ผู้ต้องหาได้ทราบและเข้าใจถึงสิทธิของตนตามกฎหมายเช่นนั้นจริง ๆ
เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่าผู้ต้องหาอยู่ในฐานะสามารถจะต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ และการที่ผู้ต้องหา
ได้ให้การอย่างไรนั้นกระท าด้วยความเต็มใจและเป็นอิสระอันจะท าให้คดีด าเนินไปด้วยความเที่ยงธรรม
และกระบวนการยุติธรรมในชั้นสอบสวนเองก็จะได้รับความเชื่อถือต่อเนื่องไปจนถึงกระบวนการ
ยุติธรรมในชั้นต่อ ๆ ไปด้วย