Page 50 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 50

๔๙

                          เรื่องของนโยบาย แต่คนก็จะรู้สึกว่าองค์กรเกี่ยวอะไรด้วย อะไรแบบนี้ แต่หนู
                          มาทําตรงนี้ก็เพราะคิดว่ามีอะไรที่เราทําได้ พี่ๆ  [แจ่มศรีและพรพิมล] เขาให้
                          โอกาส หนูก็ทํา ไป [สํานักงานคณะ] กรรมการสิทธิ ไปประชุม หนูอยากจะ
                          ทําอะไรให้ดีสําหรับทุกคน มันเป็นงานเพื่อคนอื่น เพื่อสังคม”

                          ภารกิจการสร้าง “ตัวตายตัวแทน” เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ในการทํางานเพื่อความเสมอภาค
                   ระหว่างหญิงชายในกลุ่มพนักงานการบินไทยคือสิ่งหนึ่งที่แจ่มศรีและพรพิมลกระทํามาอย่างต่อเนื่องใน
                   ระยะหลายปีที่ผ่านมา โดยกลวิธีที่เธอทั้งสองเลือกใช้ในการสร้าง “ตัวตายตัวแทน” นั้นหลากหลาย เช่น
                   สําหรับ น้องร่วมอุดมการณ์  เช่น พลอยนภดล ซึ่งมีฐานคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนเหมือนกันอยู่แล้วนั้น พี่
                   ใหญ่ทั้งสองเพียงชักชวนให้น้องเข้ามา ช่วยกันทํางานเท่านั้น ไม่มีความจําเป็นที่รุ่นเก่าและรุ่นใหม่ต้อง
                   ปรับความคิดและทัศนคติกันก่อน แต่หลายครั้งแจ่มศรีและพรพิมลก็พยายามจะเชิญชวนเพื่อนและ
                   น้องที่ สนใจ ในประเด็นสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง แต่ยังไม่คุ้นเคยกับแนวคิดนี้ เข้าร่วมขบวนกับ
                   “สหภาพ” ด้วยเช่นกัน โดยเพื่อนและน้องกลุ่มนี้จะถูกชักชวนให้ได้มารู้เห็นข้อเท็จจริงที่พนักงานหญิง
                   ถูกเอาเปรียบก่อน แล้วจึงเข้าร่วมเรียนรู้จุดยืนและการทํางานของ “สหภาพ” แจ่มศรีและพรพิมลเชื่อว่า
                   การมีโอกาสได้รู้เห็นเชิงประจักษ์จะทําให้เพื่อนและน้องเหล่านี้เข้าใจเรื่องราวที่เกี่ยวข้องมากขึ้น และ
                   สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติได้ คุณพรพิมลเล่าให้นักวิจัยฟังว่า

                          “หลายคนเขาก็ไม่ได้คิดอย่างเราตั้งแต่แรก ออกแนวไม่เห็นด้วยเลยด้วยซํ้า
                                                              ต้องดึงคนที่คิดทางลบเข้ามาให้
                          เราก็ต้องเอ็มพาวเวอร์  [empower]
                          เปลี่ยนเป็นบวก อย่างเรื่องการคุกคามทางเพศ ... เพื่อนเราบางคนก็บอกว่า
                          มันอยู่ที่การวางตัวของผู้หญิง คนที่ถูกคุกคามทางเพศเป็นเพราะผู้หญิงคน
                          นั้นวางตัวไม่ดี เราก็ต้องให้เขามารู้มาเห็น ได้มาฟังคนอื่นพูดบ้าง เราพูดให้
                          ฟังเขาก็เถียงไง เขาก็มีความคิดของเขา เราก็แค่ให้เขาได้มาฟังคนอื่น อย่าง
                          มาประชุมกับคนที่ทํางานด้านนี้  [องค์กรที่ทํางานด้านสิทธิมนุษยชน ] ได้มา
                          ฟังว่าเขาพูดอะไรกัน ทีนี้พอเขาได้มาฟังมากขึ้น เขาก็จะ ... เออ มันเป็น
                          อย่างนี้เหรอ พอเขาคิดได้เขาก็จะพูดให้เรา [“สหภาพ”] ต่อไปได้ เพราะมันก็
                          ดีมากตรงที่เขาเป็นผู้ใหญ่ เป็นคนที่พูดอะไรรู้เรื่อง เขาพูดคนจะฟังเขา”
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55